วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แห่เทียนพรรษา


งาน แห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีปฏิบัติของชาวพุทธ ที่ได้กระทำมาแต่ครั้งพุทธกาล เหตุที่ทำให้เกิดประเพณีเพราะสมัยก่อน มีภิกษุได้เดินไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านทำให้ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้อนุญาติให้ภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาที่วัดเป็นเวลา 3 เดือนคือในช่วงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปด ถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือน 11 ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวของชาวบ้านพอดีในช่วงเข้าพรรษานี้ประชาชน จะนำเทียนไปถวายพระภิกษุเพราะเชื่อว่าจะทำให้ตนเฮลียวแลาดมีไหวพริบปฏิภาณ ประดุจขี้ผึ้งที่ใช้ทำเทียนที่ได้จากรังผึ้ง

           ส่วน ความเป็นมาของเทศกาลแห่เทียนของชาวเมืองอุบลนั้น แต่ก่อนไม่ได้แห่เทียนเหมือนในปัจจุบัน แต่จะทำการฟั่นเทียน ยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาในช่วงจำพรรษา นอกจากเทียนแล้วยังมีน้ำมัน เครื่องไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝนพอมาถึงสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ครั้งหนึ่งได้มีการแห่บั้งไฟและได้เกิดเรื่องมีการตีกันทำให้มีคนเสียชีวิต จึงทำให้ถูกเลิกการแห่บั้งไฟ และได้เปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน

           การ แห่เทียนในยุคแรกๆชาวบ้านจะร่วมบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมามัดติดกับลำไม้ไผ่ติดกระดาษเงินสีทองตัดลายฟันปลามาติดปิดรอย ต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนมัดติดกับปิ๊บน้ำมันก๊าด โดยใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนลากจูง และมีขบวนฟ้อนรำด้วยต่อมาได้มีการหล่อดอกจากผ้าพิมพ์แล้วมีการประยุกต์ ประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปแกะสลักสัตว์ ลายไม้ฉลุทำให้ต้นเทียนดูสวยงามมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นประชาชนก็เห็นความสำคัญประเพณีแห่เทียนมากขึ้น จังหวัดก็ได้ส่งเสริมให้เป็นงานประจำปีในช่วงนั้นมีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสี กับประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น การทำต้นเทียนก็ได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนมาถึงการแกะสลักลงบนต้นเทียนโดยตรง ซึ่งเป็นการแกะที่ต้องอาศัยฝีมือเป็นอย่างยิ่ง      ต่อมาประเพณีแห่เทียนพรรษาจึงได้จดการประกวด3 ประเภท โดยเพิ่มประเภทแกะสลักลงบนต้นเทียนลงไป

             งานประเพณีแห่เทียนพรรษาได้รับการส่งเสริมจากทางจังหวัดมากขึ้น จนทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสนับสนุนให้เป็นงานประเพณีระดับชาติ ทำให้งานแห่เทียนพรรษาเมืองอุบลเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เดินทางมาเที่ยวกันมากมาย

ที่มา  http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-5/no27/haer.html

บึงบอระเพ็ด

  
 พื้นที่ของบึงบอระเพ็ดในอดีตนั้นเป็นที่ราบลุ่ม แวดล้อมไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณอันอุดมสมบูรณ์ มีลำคลองเล็กๆ ไหลผ่านและประกอบไปด้วยหนองน้ำหลายแห่ง เมื่อถึงฤดูฝนจะมีน้ำทางเหนือไหลหลากทำให้บริเวณบึงบอระเพ็ดมีน้ำท่วมเป็น บริเวณกว้างจนกลายเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ อุดมไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด ทั้งพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ จระเข้ กุ้งก้ามกรามและตะพาบน้ำ

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องจระเข้แล้วเป็นที่เลื่องลือกันว่าบึงบอระเพ็ดมี จระเข้ชุกชุมมาก จนผู้คนที่นั่งรถไฟผ่านบึงบอระเพ็ดสามารถมองเห็นจระเข้ที่ลอยอยู่ในบึงและ ส่วนหนึ่งก็ขึ้นมานอนผึ่งแดดตามชายบึงหรือบนเกาะ 

    ในปี พ.ศ. 2466 ดร.ฮิวจ์ เอ็ม สมิท ชาวอเมริกันซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านการประมง กระทรวงเกษตราธิการได้ออกสำรวจบึงบอระเพ็ดและได้รายงานผลการสำรวจเมื่อวัน ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 ว่าบึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และมีความสำคัญมากเกี่ยวกับเรื่องการ ประมง เพราะว่าเป็นแหล่งพันธุ์ปลา เป็นทำเลที่ปลาอาศัยเลี้ยงตัว วางไข่ และแพร่พันธุ์ ควรจะมีการบำรุงรักษาให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา

    กระทรวงเกษตราธิการจึงได้นำเรื่องนี้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตสงวนบึง บอระเพ็ดไว้เป็นที่สงวนพันธุ์สัตว์น้ำ โดยการสร้างคันกั้นน้ำและประตูระบายน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำที่ระดับ 23.80 ร.ท.ก. ตลอดปี และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ดำเนินการเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2469
    การก่อสร้างทำนบกั้นน้ำและประตูระบายน้ำเริ่มจากปี พ.ศ. 2470 และเสร็จในปี พ.ศ. 2471 สามารถกักเก็บน้ำได้ตลอดปี

    กระทรวงพระคลังมหาสมบัติในเวลานั้นได้ประกาศกำหนดเขตบึงบอระเพ็ดไว้เป็นที่ รักษาพืชพันธุ์ปลาน้ำจืด ในปี พ.ศ. 2471 และพิจารณาแก้ไข ในปี พ.ศ. 2473 โดยกำหนดเนื้อที่ประกาศเป็นเขตหวงห้ามไว้ประมาณ 250,000 ไร่ และต่อมารัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2480 ถอนการหวงห้ามเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา โดยมีอาณาเขตติดต่อกัน 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอชุมแสง และอำเภอท่าตะโก ในปี พ.ศ. 2490 กระทรวงเกษตราธิการได้แบ่งเขตรักษาพืชพันธุ์ออกเป็น 2 เขต คือ
http://www.worldwidegrp.com/images/column_1323398475/%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%94.jpg

          เขตที่ 1 เป็นเขตหวงห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมง โดยเด็ดขาด มีเนื้อที่ 38,850 ไร่

          เขตที่ 2 เป็นเขตหวงห้ามที่อนุญาตให้ราษฎรทำการประมง โดยใช้เครื่องมือบางชนิดที่กำหนดให้ใช้ได้ มีเนื้อที่ 93,887 ไร่ 56 ตารางวา
ที่มา  http://www.buengboraphet.com/History.html

บึงฉวาก

บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เป็นบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 ไร่ อยู่ห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรีประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวากมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวชมีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ บึงฉวากได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ ตามอนุสัญญาแรมซาร์ที่ประเทศไทยเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชี้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรหรือชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด   น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1 3 เมตร




ไร่องุ่นซิเวอร์เลค พัทยา

ไร่องุ่นใกล้เมืองพัทยา นาม“ซิลเวอร์เลค”(Silverlake) ห้เป็นอาณาจักรทั้งผลิตและจำหน่ายองุ่นสด ผลิตภัณฑ์ แปรรูปจากองุ่น และล่าสุดเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ประจำเมืองพัทยา ซึ่งเจ้าของไร่องุ่นแห่งนี้เป็นของอดีต นางเอกชื่อดัง คุณสุพรรษา เนื่องภิรมย์ สุพรรษา เล่าแรงบันดาลใจเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว มีโอกาส เข้าชม ไร่องุ่นต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า หลายแห่งมีสภาพแวดล้อมค่อนข้างแห้งแล้ง เป็นป่าเขาโล้น แต่ก็สามารถ ทำไร่องุ่นได้ จึงเกิดความสนใจ อยากนำที่ดินใน ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ซึ่งเธอและสามี ซื้อเก็บไวมาพัฒนา้ เป็นไร่องุ่นดูบ้าง  จากนั้นได้เชิญเจ้าของไร่องุ่นชาวอเมริกันท่านหนึ่ง มาช่วยพิจารณา ดูสภาพ แวดล้อมที่ดินดังกล่าวว่า สามารถพัฒนาเป็นไร่องุ่นได้หรือไม่ ซึ่งได้รับการยืนยันว่าเหมาะจะทำไร่องุ่นอย่างยิ่ง ด้วยจากข้อได้เปรียบพื้นที่ไร่่ติด กับ“พระพุทธแกะสลัก เขาชีจรรย์”และอยู่ใกล้ตัวเมืองพัทยาแค่ 20 กิโลเมตร สุพรรษา จึงปรับปรุงภูมิทัศน์ไร่องุ่น “ซิลเวอร์เลค” ให้สวยงาม รองรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของเมืองพัทยา โดยไม่คิดค่าเข้าชม
ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค
ยินดีต้อนรับสู่ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค
ไร่องุ่นซิเวอร์เลค พัทยา
แปลงทดลองปลูกไร่องุ่นด้านหน้า
ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค
กิจกรรมภายในไร่ จะเน้นให้นักท่องเที่ยวสัมผัสบรรยากาศการทำไร่องุ่นตามธรรมชาติจริงๆสามารถร่วมกิจกรรม ที่น่า สนใจกับรถ ATV ที่ให้คุณได้สัมผัสบรรยากาศกับการขี่เข้าชมไร และกิจกรรมอื่นๆ ที่เราจะรังสรรค์ขึ้นให้คุณ ใน อนาคต ่พร้อมบันทึกความทรงจำของความงามครั้งนี้ได้อย่างมิรู้ลืม ณ ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค “Silverlake, Pattaya Grape Escape  ในปัจจุบัน ทางไร่ได้เพิ่มกิจกรรมต่างๆมากขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชมไร่ได้สัมผัสกับ บรรยากาศอันสวยงาม ของทางไร่ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนั่งรถม้าชมไร่ หรือขี่จักรยานเสือภูเขาลัดเลาะ ไปตามแนวปลูก องุ่นของไร่ หรือนั่งช้างชมบรรยากาศอันงดงาม นอกจากนั้นท่านยังสามารถสัมผัสบรรยากาศ พระอาทิตย์ตกกลางทะเลสาบโดยขี่ จักรยานน้ำซึ่งจะเป็นภาพที่ท่านมิอาจลืมได้ในอนาคตอันใกล้นี้
สัญลักษณ์ดอกทานตะวันแดงระหว่างนั่งรถชมวิว มีร้านขายนม และกาแฟด้วย
ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค
แปลงดอกไม้อันสวยงามด้านหน้า
ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค
กังหันลมยอดฮิต
ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค
นอกจากเราจะสามารถกินลมชมวิว สัมผัสอากาศอันริสุทธิ์ภายในไร่อุง่นซิลเวอร์เลคแล้ว ตรงข้ามไร่องุ่นยังมีร้าน อาหาร ที่ทางไร่ไว้คอย้บริการนักท่องเที่ยว บรรยากากาศของร้าน สีสันสวยงาม มองเห็นวิวไกลสุดตาน่านั่งดีแท้
ร้านอาหารของไร่องุ่นซิลเวอร์เลค
ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค
ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค ไร่องุ่นซิเวอร์เลค พัทยา
พาหนะที่จะนำพาเราไปเยี่ยมชมไร่องุ่นมีให้เลือกหลายแบบตามความชอบ
ไร่องุ่นซิเวอร์เลค พัทยา รถตุ๊กๆ ,รถม้านำเที่ยว,รถพ่วงชมไร่
ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค
นอกจากความงามของไร่องุ่นที่ผนวกกับ ความงดงามของธรรมชาติอย่างลงตัวแล้ว คุณยังสามารถเลือกซื้อองุ่นสด พันธุ์ดีจากไร่ พร้อมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากองุ่นมากมาย อาทิ น้ำองุ่น 100 %, แยมองุ่น, ลูกเกด ฯลฯ ณ โซน พลาซ่าสำหรับวันหยุดสุดสัปดาห์ ถ้าใครอยากไปเที่ยวไร่องุ่น ซื้อผลิตภัณท์จากองุ่น หรือหา สถานที่พักผ่อน กผ่อนหย่อนใจวิวสวยริมอ่างเก็บน้ำ ที่ไร่องุ่น Silver Lake Vineyard ก็เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวที่หนึ่งที่น่าสนใจ อยู่ใกล้กรุงเทพ และเหมาะกับทุกเพศทุกวัยด้วยค่ะ
ข้อมูลเพิ่มเติม โทร 0 3893 8123 กรุงเทพฯ โทร. 0 2231 6565 เว็บไซต์ www.silverlakethai.com
ก่อนกลับบ้านอย่าลืมซื้อผลิตภัณฑแปรรูปจากองุ่นไปฝากคนที่บ้านด้วยค่ะ

 
ที่มา  http://www.paiduaykan.com/76_province/east/chonburi/silverlake.html













วัดพระธาตุลำปางหลวง

       ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน หรือ บ้านลำปางหลวงในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด(ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

       ในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๕ นครลำปางว่างจากผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้น สมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้น หนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ น่าน

กู่พระเจ้าล้านทอง วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา ลำปาง
"กู่พระเจ้าล้านทองด้านหน้า วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง"

"กู่พระเจ้าล้านทองด้านหลัง วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง"
รายละเอียด
       กู่พระเจ้าล้านทอง (ศาสตราจารย์ สันติ เล็กสุขุม เรียกว่า เจดีย์ทรงปราสาท) ตั้งอยู่บริเวณท้ายวิหารหลวง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปคือพระเจ้าล้านทอง ซึ่งหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ.2019 กู่นี้คงได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ใน พ.ศ.2106 หลังจากที่เมืองเชียงใหม่ตกอยู่ใต้ปกครองของพม่า ส่วนบนของกู่เป็นแบบผสมระหว่างหลังคาลาดกับหลังคาลดชั้น องค์ประกอบต่างๆ รวมทั้งลวดลายปั้นประดับมีอยู่อย่างมากมาย แสดงให้เห็นถึงแบบแผนของงานประดับในช่วงเวลานั้นด้วย

ซุ้มประตูโขง วัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา ลำปาง
"ซุ้มประตูโขง วัดพระธาตุลำปางหลวง"

"ลายเส้น ซุ้มประตูโขง วัดพระธาตุลำปางหลวง"
[อุมาพร เสริฐพรรณึก, การศึกษาประตูโขงแบบล้านนาในจังหวัดลำปาง, หน้า 53]

"ภาพตัดแสดงตำแหน่งที่ตั้ง สำคัญบนเนวัดพระธาตุลำปางหลวง"(1.พระธาตุเจดีย์ 2.วิหารหลวง 3.กู่พระเจ้าล้านทอง 4.ประตูโขง) [อุมาพร เสริฐพรรณึก, การศึกษาประตูโขงแบบล้านนาในจังหวัดลำปาง, หน้า 45]
รายละเอียด
       ซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่บนเนิน มีความสูงประมาณ 13 เมตร โดยมีบันไดนาคทอดยาวเชื่อมพื้นที่ระหว่างวัดกับภายนอก ลักษณะเป็นอาคารทรงมณฑปมียอดแหลมซ้อนหลายชั้น โครงสร้างก่ออิฐถือปูน ภายนอกฉาบด้วยปูนสีขาวแต่งลายปูนปั้นเกือบตลอด ทำเป็นช่องทางเดินด้านทิศตะวันออก-ตะวันตก ปากช่องทางเดินประดับซุ้มโค้งซ้อน 2 ชั้น

สิงห์ปูนปั้น ฐานชุกชี วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง
"สิงห์ปูนปั้นประดับฐานชุกชี วิหารน้ำแต้มด้านขวา" [ถ่ายเมื่อ 5 มิถุนา 47]

"สิงห์ปูนปั้นประดับฐานชุกชี วิหารน้ำแต้มด้านซ้าย" [ถ่ายเมื่อ 5 มิถุนา 47]
รายละเอียด
       ทั้งสองเป็นลวดลายปูนปั้นนูนสูง บริเวณตัวสิงห์ปั้นจนเกือบเป็นรูปปฏิมากรรมลอยตัว บนหลังสิงห์เป็นหม้อบูรณฆฏะ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ตำแหน่งอยู่บริเวณฐานชุกชีด้านหลังวิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง 

ที่มา  http://www.lampang.go.th/travel/weblp/page/page1.html

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระแก้วมรกต วัดสำคัญที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์

     วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระแก้ว นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๗
     เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

     รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้ ภายหลังจากการสถาปนาแล้ว ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชกาล เพราะเป็นวัดสำคัญ จึงมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุก ๕๐ ปี คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
     เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่ผ่านมา การบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมา มุ่งอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นมรดกชิ้นเอกของชาติ ให้คงความงามและรักษาคุณค่าของช่างศิลปไทยไว้อย่างดีที่สุด เพื่อให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดไป
พระอุโบสถ
สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาลด ๔ ระดับ ๓ ซ้อน มีช่อฟ้า ๓ ชั้น ปิดทองประดับกระจก ตัวพระอุโบสถมีระเบียงเดินได้โดยรอบ มีหลังคาเป็นพาไลคลุม รับด้วยเสานางรายปิดทองประดับกระจกทั้งต้น พนักระเบียงรับเสานางราย ทำเป็นลูกฟักประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีอย่างจีน ตัวพระอุโบสถมีฐานปัทม์รับอีกชั้นหนึ่ง ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสารายเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน
ผนังพระอุโบสถ ในรัชกาลที่ ๑ เขียนลายรดน้ำบนพื้นชาดแดง รัชกาลที่ ๓ โปรดเล้าฯ ให้ปั้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ปิดทองประดับกระจก เพื่อให้เข้ากับผนังมณฑป ปิดทองประดับกระจก บานพระทวารและพระบัญชรประดับมุกทั้งหมด ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่เชิงบันไดมีสิงห์หล่อด้วยสำริดบันไดละคู่ รวม ๑๒ ตัว โดยได้แบบมาจากเขมรคู่หนึ่ง แล้วหล่อเพิ่มอีก ๑๐ ตัว
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร