วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

น้ำตกทีลอซู

ทีลอซู อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก - น้ำตกทีลอซู

น้ำตกทีลอซู มหัศจรรย์แห่งสายน้ำ สวยติดอันดับ 1 ใน 6 ของโลก


 น้ำตกทีลอซูตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กม. ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500 เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเอเชีย1
ทีลอซู ได้รับคำกล่าวขานถึงว่าเป็นน้ำตกที่สวยงามมากและจะมีความสวยงามเป็นพิเศษใน ช่วงฤดูฝน ระหว่าง 1 มิ.ย. - 31 พ.ย. ปริมาณน้ำฝนที่มากจะเพิ่มปริมาณน้ำในลำธารทำให้สายน้ำตกกว้างใหญ่กว่าฤดู อื่น แต่เป็นช่วงที่ทางรถเข้าน้ำตกปิด เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้เส้นทางและถนอมสภาพทางไม่ให้เสียหาย นักท่องเที่ยวอาจเลี่ยงใช้เส้นทางนี้ได้ โดยการซื้อทัวร์กับบริษัทนำเที่ยวซึ่งจะเดินทางด้วยเรือยางและเดินป่าอีกราว 12 กม.แต่หากมาท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาว - ฤดูร้อนระหว่าง 1 ธ.ค. - 31 พ.ค. ก็สามารถใช้ทางรถยนต์เข้าน้ำตกได้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เที่ยวได้สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเที่ยวแบบไปกลับหรือพักค้างแรม

ที่มา http://xn--12cu2ajh9esc9a4a7bylxb.com/

เมืองไทย ครั้งหนึ่งในชีวิต

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=72bjKVKPI0o&feature=related

พระธาตุพนม


พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตำบล และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุ อยู่บนภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า ภาษาบาลีว่า กปณบรรพตหรือ กปณคีรี ริมฝั่งแม่น้ำขลนที อันเป็นเขตแขวงนครศรีโคตบูรโบราณ






พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
    เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ

ททท.ขอนแก่น ชวนเที่ยวพระธาตุนาดูน

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=C7IbsoYzhdc

พระธาตุนาดูน

สถานที่สำคัญ ของจังหวัดมหาสารคามอีกหนึ่งแห่งที่ตั้งอยู่ที่ อำเภอนาดูน ซึ่งพระธาตินาดูนมีความเป็นมาที่ยาวนานและเป็นที่เคารพสักการะ ของชาวจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งผ่านที่เดินทางผ่านไปมาได้แวะมาสักการะสร้างขึ้นเพื่อบรรจุบพระบรม สารีริกธาตุที่ได้จากเจดีย์ขนาดเล็กองค์หนึ่ง ซึ่งค้นพบห่างจากองค์พระธาตุแห่งนี้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร ลักษณุของพระธาตุเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมซ้อนกัน 3 ชั้น ตกแต่งด้วยประติมากรรมนูนต่ำ ประดับเจดีย์จำลองขนาดเล็ก 4 มุม สันนิษฐานว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 สมัยทวารดี
พระธาตุนาดูน
ภายในบริเวณยังมีพิพิธภัณฑ์ทางศานนาและวัฒนธรรม สวนรุกชาติ  สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาอีกด้วย

Amazing Thailand

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=_5ZuWXDDJ5s

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย



ปราสาทหินพิมาย : ปราสาทหินใหญ่ที่สุดในประเทศ
เปิดเวลา 08.30-18.00 น.
ค่าเข้าชมคนไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท
โทร. 0-4447-1568



เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีรูปแบบศิลปกรรมขอมแบบบาปวนและนครวัดที่มีความงดงาม เชื่อว่าเป็นต้นแบบในการสร้างนครวัดในเขมรปราสาทหินแห่งนี้ตั้งอยู่กลางเมืองพิมายซึ่งเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของภูมิภาค มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญทางตอนเหนือของลาวและทางตอนใต้ของขอม เมื่อชมปราสาทหินพิมายแล้วควรแวะชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ซึ่งจัดเก็บโบราณวัตถุที่สำคัญจากปราสาทแห่งนี้ไว้ พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บริเวณใกล้กัน
ประวัติ : สร้างขึ้นเีพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคที่อาณาจักรขอมแผ่อิทธิพลมายังภูมิภาคนี้ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1761)มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรขอมใน พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติและเริ่มบูรณะในปี พ.ศ.2494และ พ.ศ.2497กรมศิลปากรได้บูรณะองค์ปรางประธานอีกครั้ง โดยได้รับเงินงบประมาณจากรัฐบาลฝรั่งเศษ จนแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ.2507-2512  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ได้กำหนดให้
เมืองโบราณพิมายและปราสาทหินพิมายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ.2529 โดยมีการอนุรักษ์และบูรณะเป็นอย่างดี

โฆษณา ททท เบิร์ด ธงไชย

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=dSTGKvQfcgQ

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์


ดอยอินทนนท์

ดอยอินทนนท์

ดอยอินทนนท์

ดอยอินทนนท์

ดอยอินทนนท์

ดอยอินทนนท์

ดอยอินทนนท์

           พอเริ่มปีใหม่เข้ามา หลายคนคงเตรียมตัววางแผนที่จะท่องเที่ยว เก็บข้าวเก็บของลงกระเป๋าแน่ ๆ และสถานที่น่าท่องเที่ยวตอนนี้เห็นจะเป็นทางภาคเหนือ เนื่องจากช่วงต้น ๆ ปีอย่างนี้ทางภาคเหนือยังคงอากาศหนาวเย็น บางที่อากาศก็กำลังเย็นสบายทีเดียว ชวนให้ไปสัมผัสซึมซับกับบรรยากาศสุด ๆ ...

          ถ้าจะพูดถึงสถานที่ที่นักเดินทาง ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น อยากจะไปสัมผัสให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต ชื่อของ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ หรือ ดอยอินทนนท์ ก็น่าจะอยู่ในลิสต์อันดับต้น ๆ เพราะไม่ว่าจะรักการเที่ยวแบบชิลล์ ๆ หรือลุย ๆ สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตแห่งนี้ ก็พร้อมต้อนรับด้วยความงดงามของธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นความอุดมสมบูรณ์ของ ป่าใหญ่ดึกดำบรรพ์ (Old growth forest) สภาพอากาศที่หนาวเย็นและชุ่มฉ่ำตลอดทั้งปี ทำให้มีมอส เฟิร์นและพืชอิงอาศัย (epiphyte) ชนิดอื่น ๆ ขึ้นปกคลุมตามลำต้นอย่างหนาแน่น ใครที่เดินทางมาเที่ยวจะต้องประทับใจกับสีสันของใบไม้ป่าผลัดใบ ที่กำลังจะผลัดใบในช่วงปลายปี 


เที่ยวไทยครึกครื้น

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=tIGTmS8Fpf0

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง


ปราสาทพนมรุ้งเป็น โบราณสถานที่ตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้ง  ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์  สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณ  ที่มีความงดงามมากที่สุดแห่ง หนึ่ง ความงดงามและความยิ่งใหญ่ของปราสาทแห่งนี้ปรากฏให้เห็นได้ในรูปของงาน สถาปัตยกรรม การจำหลักลวดลายการเลือกทำเลที่ตั้งบนยอดเขามีแผนผังตามแนวแกนที่มีองค์ ประกอบของสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ เรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธาน จากงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่นี้  ชวนให้เกิดความสงสัยและอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าคนในสมัยโบราณสร้างปราสาท หลังนี้ขึ้นมาได้อย่างไร
            ปราสาทพนมรุ้ง เป็นที่รู้จักของชาวท้องถิ่นเป็นอย่างดี ดังได้มีนิทานพี้นบ้านเรื่อง "อินทรปรัสถา" กล่าวถึงคู่พระคู่นางซัดเซพเนจรไปจนพบที่พักพิงซึ่งเป็นปราสาทหินอันงดงามรก ร้างอยู่ท่ามกลางป่าเขา แต่สำหรับบุคคลภายนอกต่างบ้านต่างเมืองนั้น ปราสาทแห่งนี้รู้จักกันครั้งแรกตามที่มีเอกสารที่มีการกล่าวถึงปราสาทพนม รุ้งเป็นครั้งแรกคือ บันทึก ของนายเอเตียน เอมอนิเยร์ (Etienne Aymonier) ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2428 ตีพิมพ์เป็นบทความใน พ.ศ. 2445
             ปี พ.ศ. 2449 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาที่ปราสาทพนมรุ้ง คราวเสด็จมณฑลอีสาทและเสด็จอีกครั้งในปี พ.ศ. 2472 กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพนมรุ้งเป็นโบราณสถานของชาติประกาศในราชกิจจา นุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
             และปี พ.ศ. 2503-2504 ได้ดำเนินการสำราจปราสาทพนมรุ้งอีกครั้ง ต่อมาใน พ.ศ. 2514 ได้เริ่มดำเนินการบูรณะปราสาทพนมรุ้งด้วยวิธีอนัสติโลซิส (Anastylosis คือ การนำชิ้นส่วนของปราสาทกลับเข้าสู่ตำแหน่างเดิม) เปิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน
            ชื่อของปราสาทพนมรุ้ง เป็นชื่อดั้งเดิมของโบราณสถานแห่งนี้ คำว่า พนมรุ้งปรากฏอยู่ในศิลาจารึก ที่พบที่ปราสาทแห่งนี้จารึกพนมรุ้ง หลักที่ 2 หลักที่ 4 และ K10900 จารึกว่า พนมรุ้งเป็นชื่อเทวสถาน ที่มีขอบเขตกว้างขวาง มีที่ดิน หมู่บ้าน เมือง 
 ปราสาทแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยที่ประทับของพระศิวะพระองค์ที่ประทับอยู่บนยอดเขา ไกรลาส ดังนั้น การที่ ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นบนยอดเขาพนมรุ้ง จึงเป็นการสะท้อนถึงการนับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายได้เป็นอย่างดีผ
            อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของปราสาทพนมรุ้ง ไม่ได้สร้างขึ้นมาพร้อมกันหมดในคราวเดียว ได้มีการสร้างศาสนสถานเพื่อเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อการนับถือศาสนาของ ชุมชน ขึ้นครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ได้แก่ ปราสาทอิฐ 2 หลัง ที่ปัจจุบันอยู่ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐานและกรอบประตู หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างต่อเนื่องกันมาเป็นลำดับ โดยกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรโบราณ หรือผู้นำที่ปกครองชุมชน อันมีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง
            ปราสาทพนมรุ้ง คงมีความสำคัญสืบต่อมาจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) พระองค์นับถือศาสนาฮินดูไศวนิกาย เช่นเดียวกับพระราชบิดา (พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ) นอกจากจะมีพระราชโองการให้สร้างจารึกเพื่อสรรเสริญเกียรติคุณของพระราชบิดา แล้วยังทรงถวายที่ดินให้กับเทวสถานใน สมัยนี้เอง เทวสถานบนเขาพนมรุ้ง เป็นศูนย์กลางของชุมชนโดยรอบอย่างแท้จริง ข้อความในจารึกพนมรุ้ง บางหลักแม้จะมีเนื้อความขาดหายแต่ก็ให้ภาพ รวมได้ว่าเทวสถานบนเขาพนมรุ้ง เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ คือ ศิวลึงค์ มีอาณาเขตกว้าวขวางมีที่ดิน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดิน (พระเจ้าวรมันที่ 5 ) และข้าราชการระดับต่าง ๆ ถวายหรือซื้อถวายให้กับเทวสถานพร้อมกับมีพระราชโองการ ให้ปักหลักเขตที่ดินขึ้นกับเทวสถานพนมรุ้งพร้องกับการสร้างเมือง สร้างอาศรมให้กับโยคี และนักพรตด้วย
            ในราวพุทะศตวรรษที่ 17 ได้มีการก่อสร้างปราสาทประธานขึ้น จากการศึกษาศิลาจารึกพนมรุ้ง หลักที่ 7 และหลักที่ 9 กล่าวได้ว่าปราสาทประธานสร้างขึ้นในสมัยเรนทราทิตย

ชีวประวัติของนเรนทราทิตย์
           นเรนทราทิตย์ เป็นโอรสของพระนางภูปตีนทรลักษมี เป็นผู้มีสติปัญญาหลักแหลม มีความสามารถในการรบ ได้เข้าร่วมรบกับกองทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในการรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น จากศึกสงครามนเรนทราทิตย์คงได้รับความดีความชอบเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้ รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองเมือง ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของราชวงศ์มหิธรปุระ

 ทรงได้ดำเนินการสร้างปราสาทหลังใหญ่ขึ้นประดิษฐานรูปเคารพสร้างงานศิลปกรรมปรากฏเป็นงานจำหลักตามส่วนต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง ที่ล้วนแต่แสดงให้เห็นว่า มีความประสงค์ที่จะสร้างเทวสถานแห่งนี้เป้นเทวาลัยของพระศิวะ มีศิวลึงค์เป็นองค์ประธาน และยังมีการนับถือเทพองค์อื่น ๆ แต่อยู่ในสถานะเทพชั้นรอง นอกจากนี้ข้อความที่ปรากฏในจารึกยังแสดงให้เห็นว่า นเรนทราทิตย์ ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ เพื่อประดิษฐานรูปของตนเอง หลังจากสิ้นพระชนม์           ความเลือมใส ศรัทธาอันแรงกล้าต่อศาสนา ทำให้ท่านทรงออกบรรพชาถือองค์เป็นนักพรตจวบจนวาระสุดท้าย ข้อความที่ปรากฏในจารึกพนมรุ้ง ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ท่านคงเป็นนักพรตในลัทธิไศวนิกาย ตามแบบนิกายปศุปตะที่มีการนับถือกันมาแล้วแต่เดิม โอรสของนเรนทราทิตย์ คือ หิรัณยะ เป็นผู้ที่ให้จารึกเรื่องราวเพื่อสรรเสริญเกียรติคุณของพระบิดาได้ให้ช่างหล่อรูปของนเรนทราทิตย์ด้วยทองคำ

          สิ่งก่อสร้างสมัยสุดท้าย คือ บรรณาลัย และพลับพลา ซึ่งมีการก่อสร้างเพิ่มเติมซ่อมแซมขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 - 1763 ) มหาราชองค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรเขมร พระองค์ทรงนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน โปรดให้สร้างอโรคยศาล หรือ ศาสนสถานพยาบาล จำนวน 102 แห่ง และที่พักคนเดินทาง จำนวน 121 แห่ง ขึ้นในดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์ ตามข้อความที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม และจารึกปราสาทพระขรรค์ ตามลำดับ โบราณสถานดังกว่าวนี้ ที่อยู่ใกล้เคียงปราสาทพนมรุ้ง ได้แก่ กุฏิฤาษีเมืองต่ำ และกุฏิฤาษีหนองบัวลาย ซึ่งเป็นศาสนสถานพยาบาล ปราสาทบ้านบุ เป็นที่พักคนเดินทาง

ที่มา http://www.buriram.go.th/tr_phanomrung/Phanomrong.htm

อุทยานแห่งชาติแม่ปิง


สามารถเดินทางไปตามหลวงหมายเลข 106 (สายลำพูน - ลี้) บริเวณกิโลเมตรที่ 47 แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 1087 (สายลี้ – ก้อ) บริเวณกิโลเมตรที่ 20 – 21 ก็ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เดิมนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่หาด - แม่ก้อ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 มีพื้นที่ 1,003 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ภายในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีพื้นที่บางส่วนเป็นลำน้ำปิงซึ่งยาวประมาณ 140 กิโลเมตร และสองฝั่งแม่น้ำเป็นเกาะแก่ง หน้าผา หินงอก หินย้อย การเดินทางท่องเที่ยวลำน้ำปิงสามารถเริ่มจากอ่างเก็บน้ำดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เรือหางยาว แล้วมาต่อแพที่แก่งสร้อย ล่องมาจนถึงเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ในทางกลับกันอาจจะเช่าเรือหรือแพจากเขื่อนภูมิพลล่องขึ้นไปก็ได้

สถานที่น่าสนใจของอุทยานฯ


ถ้ำยางวี เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่อยู่ภายในอุทยานฯ มีหินงอกหินย้อยสวยงาม เป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาว เม่นและเลียงผา การเดินทางเข้าไปชมต้องใช้ไฟฉายหรือคนถือไฟนำทางเข้าไป ไม่ไกลจากบริเวณถ้ำยางวีจะมีป่าที่มีลักษณะเป็นป่าเต็งรังผสมสนสองใบเรียกว่าป่าพระบาทยางวี มีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวแบบเดินป่าพักค้างแรม  

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

Amazing Thailand

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=k-hACeKRhK8&feature=related

น้ำตกเอราวัณ

น้ำตกเอราวัณ เป็นน้ำตกที่ใหญ่และสวยงาม บนฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นน้ำตกที่มีระยะทางยาวประมาณ 1,500 เมตร ติดต่อกัน ซึ่งแบ่งออกเป็นชั้นๆ ได้ 7 ชั้นเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เดิม มีชื่อว่า น้ำตกสะด่องม่องลาย ตามชื่อลำห้วยม่องล่ายซึ่งเป็นต้นน้ำของน้ำตกที่เกิดจากยอดเขา ตาม่องล่ายใน เทือกเขาสลอบ สายน้ำจะไหลมาตามชั้นหินเป็นระยะทางประมาณ 1,500 เมตร แบ่งออกเป็นชั้นใหญ่ๆได้ 7 ชั้น แต่ละชั้นมีีความสวยงามร่มรื่นไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ทั้งเถาวัลย์พันเกี่ยวทอดตัวไปบนต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้ป่า หลายชนิดบนคาคาคบไม้ สายธารน้ำที่ไหลตกลดหลั่นลงมาบนโขดหินสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง เสียงสาดซ่า คลอเคล้า ด้วยเสียงเพรียกของนกป่า ทำให้สภาพความเป็นธรรมชาติสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น นับเป็นบรรยากาศที่เรียกเอาความมี คุณค่าของป่าเขาลำเนา ไพรซึมซับเข้าสู่อารมณ์ของผู้ใฝ่ความสันโดษ และรักธรรมชาติโดยแท้จริง ในชั้นที่ 7 อันเป็นชั้นบนสุดของน้ำตกลักษณะของน้ำตกชั้นที่ 7 ลักษณะสายน้ำไหลบ่า มองดูคล้ายกับหัวช้างเอราวัณซึ่งมี 3 หัว จึงกลายมาเป็นที่มาของชื่อน้ำตก จนคนทั่วไปรู้จักและขนานนามว่า “น้ำตกเอราวัณ”
น้ำตกเอราวัณน้ำตกเอราวัณ
สิ่งที่รู้สึกได้เมื่อมาถึงยังบริเวณน้ำตก คือความเย็นสบายแต่เมื่อได้เห็นตัวน้ำตกก็ต้องตะลึงในความงามของตัว น้ำตกที่น้ำใสแจ๋ว มองเห็นตัวปลาแหวกว่ายไปมาใต้ผืนน้ำที่สะท้อนแสงเป็นสีฟ้าอมเขียวมรกตคล้ายน้ำใน สระว่ายน้ำ ที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจากลักษณะของภูเขาใน อุทยานฯเอราวัณ เป็นเป็นเทือกเขาหินปูนที่เกิดจาก การทับถมของ เปลือกหอย ปู หรือปะการังดังนั้นน้ำตกเอราวัณที่ไหลมาจากเทือกเขาหินปูนจึงมีสารละลายของ แคลเซียมคาร์บอเนต เจือปนอยู่ ซึ่งแคลเซียมคาร์บอเนตนี้จะตกตะกอนในบริเวณที่มีน้ำไหลช้าหรือเป็นแอ่งน้ำ ทำให้ชั้นน้ำตกมีคราบหินปูนก่อตัว และหินปูนนี้สามารถละลายน้ำได้ดี เมื่ออยู่ในรูปของสารละลายก็สามารถ ตก ตะกอนได้ น้ำตกหินปูนจึงมีน้ำใสในตอนบน และมีการตกตะกอนขุ่นในช่วงล่างของธารน้ำ เมื่อแสงส่องลงมาจะ ทำให้สะท้อนเป็นสีฟ้าหรือสีเขียวมรกตสวยงามมาก
แอ่งน้ำใสๆ
น้ำตกเอราวัณน้ำตกเอราวัณ
น้ำตกชั้นแรกมีชื่อว่า"ไหลคืนรัง"ชั้นต่อมาชื่อ"วังมัจฉา" ชั้นที่ 3 "ผาน้ำตก" ชั้นที่4"อกผีเสื้อ" ชั้นที่ 5 "เบื่อไม่ลง" ชั้นที่ 6"ดงพฤกษา" และชั้นสุดท้ายชื่อว่า "ภูผาเอราวัณ"โดยน้ำตกแต่ละชั้นไม่ใช่มีแค่ชื่อที่ไม่เหมือนกันเท่านั้น แต่น้ำตกแต่ละชั้นก็มีความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป สำหรับท่านที่ต้องการเยี่ยมชมน้ำตกทั้ง 7 ชั้นจาก การสอบถามจากเจ้าหน้าที่จะต้องใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงในการขึ้น - ลง
ซ้าย น้ำตกชั้นที่1, ขวา น้ำตกชั้นที่ 2
น้ำตกเอราวัณน้ำตกเอราวัณ
เราทางอุทยานฯตั้งชื่อเช่นนี้ คิดว่าอาจจะเป็นเพราะน้ำตกชั้นนี้มีปลาอาศัยอยู่เยอะก็เป็นได้ ซึ่งปลาเหล่านี้คือ "ปลาพลวง" เป็นปลาน้ำจืดในตระกูลปลาตะเพียน ลำตัวสีน้ำตาลเขียว เกล็ดโต มีหนวดยาว 2 คู่ ตรงจงอยปาก และ มุมปาก ชอบอาศัยบริเวณธารน้ำตก ลำห้วย หรือธารน้ำที่ใสสะอาด มีพื้นเป็นกรวดหรือทราย ที่วังมัจฉาสี ของน้ำมี 2 สีอย่างเห็นได้ชัด คือน้ำสีฟ้าเขียวและน้ำใสๆตามปกติ ซึ่งปลาพลวงชอบจะอาศัยอยู่ในน้ำใสมากกว่า นอกจากนี้ที่น้ำตกชั้น 2ยังมีความสวยงามของม่านน้ำตกที่เบื้องหลังสายน้ำตกที่ตกลงมากระเซ็นเป็นฝอยนั้นมี ผาลึกเข้าไปเล็กน้อย โดยนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปหลังม่านน้ำตกนี้ได้
ซ้าย อีกมุมของน้ำตกชั้นที่ 2 , ขวา น้ำตกชั้นที่4
น้ำตกเอราวัณน้ำตกเอราวัณ
น้ำตกชั้นที่ 3 ที่มีน้ำตกที่ตกลงมาจากผาชันดังชื่อของน้ำตกชั้นนี้ว่า"ผาน้ำตก" จากนั้นก็เดินข้ามสะพานไม้ถัดขึ้น ไปเป็นน้ำตกชั้นที่ 4 "อกผีเสื้อ" ที่มีชื่อเช่นนี้ก็คงเพราะรูปร่างของหินที่อยู่ในน้ำตกชั้นนี้ "ผู้จัดการท่องเที่ยว" มองดูคล้ายอกของผู้หญิง หรือถ้าเป็นอกผีเสื้อก็คงเป็นอกผีเสื้อสมุทร ที่มีน้ำตกไหลครอบคลุมหินกลมมน ก้อนใหญ่ 2 ก้อนดูแล้วนิ่มนวลสวยงามมาก
ระหว่างทางไปน้ำตก
น้ำตกเอราวัณน้ำตกเอราวัณ
ถัดมาเป็นน้ำตกชั้นที่ 5 ชื่อว่า"เบื่อไม่ลง" ด้วยลักษณะของน้ำที่ไหลตกลงมาตามชั้นหินเตี้ยๆหลายๆชั้นบวกกับน้ำ ที่มีสีฟ้าเขียวทำให้เกิดความสวยงามน่าหลงใหลเป็นอย่างยิ่ง ต่อไปเป็นชั้น "ดงพฤกษา" ซึ่งอุดมไปด้วยแมกไม้ นานา พันธุ์แต่ดูไม่รกทึบส่วนชั้นสุดท้าย "ภูผาเอราวัณ" ที่ได้ชื่อเช่นนี้คงเนื่องมาจากว่าเมื่อน้ำตกไหล บ่าผ่านผา และชั้นหินบน ภูเขามองดูจากระยะไกลคล้ายกับหัวช้างเอราวัณซึ่งมี 3 หัว จึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตกชั้นที่ 7 และเป็นชื่อของอุทยาน แห่งชาตินี้ด้วย
น้ำตกชั้นที่ 5
น้ำตกเอราวัณน้ำตกเอราวัณ
นอกจากนี้ทางอุทยานฯได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ทางอุทยานฯ ได้จัดเส้นทางไว้สำหรับนักท่องเที่ยว ที่ต้องการศึกษาธรรมชาติ 2 เส้นทาง ใช้เวลาประมาณ 30 นาที คือ เส้นทางสายป่าดิบแล้งม่องไล่ - ระยะทาง 1,010 เมตร ลักษณะเป็นทางเดินเลียบลำห้วยม่องไล่ เริ่มจากสะพานค่ายพักไปบรรจบกับเส้นทาง ใน
น้ำตกเอราวัณชั้นที่ 3 เส้นทางเขาหินล้านปี - ระยะทาง 1,940 เมตร เริ่มจากลานจอดรถไปบรรจบกับเส้นทาง สู่น้ำตกบริเวณสะพานของ น้ำตกเอราวัณชั้นที่ 4
ค่าธรรมเนียมเข้าชม 
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี เปิดเวลา 7.30-16.00 น.
- ค่าธรรมเนียมผู้ใหญ่ 40 บาท/คน เด็ก 20 บาท/คน
- รถกอล์ฟคิดค่าบริการเที่ยวละ 20 บาท/คน
อุทยานแห่งชาติเอราวัณมีบ้านพัก เต็นท์และค่ายพักแรม มีร้านค้า ขายอาหารมากมายหลายร้านไว้บริการ นักท่องเที่ยว ติดต่อสอบ ถามรายละเอียดและสำรองที่พัก ได้ที่ฝ่ายบริการบ้านพัก ส่วนอำนวยการสำนักอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ิกรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 5797223 , 5795734 หรือ 5614292 - 4 ต่อ 724,725 หรือติดต่ออุทยานแห่งชาติ โดยตรง อุทยานแห่งชาติเอราวัณต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี 71250
โทรศัพท์ 0 3457 4222, 0 3457 4234   โทรสาร 0 3457 4288, 0 3457 4234
หมายเหตุ: อุทยานฯไม่อนุญาตให้นำอาหารเข้าไปในบริเวณน้ำตกเกินชั้น 3 เพื่อเป็นการรักษาความสะอาดและ ความเป็นธรรมชาติเอาไว้
-
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
ไปตามถนนเพชรเกษมหรือไปตามถนนบรมราชชนนี ผ่านนครชัยศรี บ้านโป่ง ท่ามะกา ท่าม่วง ถึงจังหวัด กาญจนบุรี รวมระยะทาง 129 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง สำหรับการเดินทางจากตัวเมือง กาญจนบุรีไปยัง อุทยานแห่งชาติเอราวัณสามารถใช้ได้ คือ เริ่มต้นจากจังหวัดกาญจนบุรีไปตามทางหลวงจังหวัด หมายเลข 3199 ถึง เขตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเขื่อนศรีนครินทร์ ข้ามสะพานไปยังตลาดเขื่อน ศรีนครินทร์ แล้วจึงเลยเข้า ไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 70 กิโลเมตร เดินทาง จากอุทยานแห่งชาติไทรโยค จะมีเส้นทางบริเวณบ้านวังใหญ่อยู่ห่างจาก น้ำตกไทรโยคน้อยประมาณ 6 กิโลเมตร ลัดออกไปบ้านโป่งปัดบริเวณเขื่อน ท่าทุ่งนาระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนน หมายเลข 3199 อีกประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงที่ ี่ทำการอุทยานแห่งชาติเอราวัณ
2. โดยรถสาธารณะ 
รถโดยสารธรรมดา/รถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 04.00-20.30 น. ถึง จังหวัดกาญจนบุรี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที หลังจากนั้นเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง จาก สถานีขนส่งกาญจนบุรี หมายเลข 8170 กาญจนบุรี-เอราวัณ ออก ทุก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 08.00-17.20 น. เพื่อเดิน ทางเข้าสู่อุทยานแห่งชาติเอราวัณจากนั้นนั่งรถสายกาญจนบุรี - เอราวัณ ไปลงหน้าที่ทำการอุทยานแห่ง ชาติเอราวัณ แล้วเดินเข้าไปยังน้ำตกอีก 500 เมตร ค่าโดยสารรถประจำทาง 40 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ
1 ชั่วโมง 30 นาที หรือออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ชั้น 1 ช่อง 21 สายกรุงเทพฯ-ด่านเจดีย์สามองค์ ตั้งแต่เวลา 05.00-19.00 น. โดย แวะจอดที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที หลังจากนั้น เดินทางโดยรถโดยสารประจำ ทางสายกาญจนบุรี-เอราวัณ เพื่อเดินทางเข้าสู่อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
แผนที่ไปน้ำตกเอราวัณแผนที่ไปน้ำตกเอราวัณ
- ขอขอบคุณภาพสวยๆจาก คุณเอ http://phitchaphat.multiply.com
- ขอบคุณข้อมูลจากอุทยานแห่งชาติเอราวัณ