วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

ชมสวนกล้วยไม้

ไอยเรศ
กล้วยไม้ไทยพันธ์แท้และลูกผสมกล้วยไม้ไทยพันธ์ต่างๆ 
 ที่สวยงามมีชื่อเรียกมากมาย  ถ้าไม่ใช่คนที่เคยปลูกเลี้ยง 
 หรือคนที่ใจรักจริงๆมักจะจำชื่อได้ยาก  เป็นเพราะผู้ปลูกเลี้ยง
 หรือนักปรับปรุง บำรุงพันธ์  สามารถพัฒนาสายพันธ์ให้มีสีสัน
สดสวย แปลกตาไปได้เรื่อยๆ ตามจินตนาการของผู้ปรับปรุงสายพันธ์ 
 และตั้งชื่อเรียกขานกันขึ้นมาใหม่

ช้างแดง
เฮียใหญ่เคยให้สัมภาษณ์นิตยสารหลายฉบับ และเคยเล่าให้พวกเราฟังหลายครั้งว่า
"คนเห็นกล้วยไม้ตามร้านที่ขายออกดอกสวยก็ซื้อไปปลูก มาใหม่ๆขยันรดน้ำ 
 อยู่ไปดอกเริ่มโรย ก็เริ่มรดบ้างไม่รดบ้าง นานเข้าก็เฉาตาย ก็จะบ่นว่ากล้วยไม้เลี้ยงยาก"
เอ.....อีหนูนี่....ช้างกระ..หรือช้างพลายน้อ!..(มั่วอีกแล้วป้าส้ม)
เฮียก็เลยฝากมาบอกพวกเราถ้าอยากเลี้ยงกล้วยไม้  ให้เสียเวลาศึกษาสักนิด 
ดูพื้นฐานของกล้วยไม้แต่ละสกุล ชนิด สายพันธุ์ สายเลือด
ว่าต้นทางเจริญเติบโตขึ้นอยู่ที่ภูมิภาคใด  มีบรรยากาศแบบไหน 
เมื่อนำมาปลูกเลี้ยงแล้ว จะเป็นอย่างไรที่บ้านเรา แม้กระทั่งโรงเรือน
หรือสถานที่เรานำมาแขวนโชว์หรือเลี้ยงเขานั่น เหมาะสมกับเขาหรือเปล่า
เป็นสวนที่ขายทั้งต้น ไม่ขายตัดดอก
"อยากจะแนะนำว่า  แรกๆควรเลี้ยงกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย เว้นการรดน้ำได้บ้างบางเวลา
เพราะกล้วยไม้ แห้งไม่ตาย  แต่ถ้ารดน้ำจนแฉะชื้นมาก รากเน่าตาย
 ให้รู้จักฤดูการออกดอกของเขา เลี้ยงไว้หลายๆพันธุ์ 
ถึงเวลาเขาจะสลับกันออก ตามฤดูกาล มีดอกให้ชมได้ตลอดปี"
นี่...คุณ"ช้างเผือก"แน่นอน
ช่วงการออกดอกของกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้  จะมีดอกต่างกันไป เช่น
สกุลช้าง    เริ่มบาน     พฤศจิกายน ถึง เมษายน
ไอยเรศ ,เขาแกะ,และสกุลกุหลาบต่างๆ  เริ่มบาน  เมษายน  ถึง  มิถุนายน
เหลืองจันทบูรณ์  เริ่มบาน  มกราคม  ถึง  เมษายน
เข็มสด เข็มแดง  เริ่มบาน  มีนาคม  ถึง  เมษายน
เข็มม่วง    เริ่มบาน   เมษายน  ถึง  พฤศจิกายน
 
ช้างแดง ดูใกล้.....สีไม่ตก..ไม่จางเลย
จำได้ว่า สกุลช้างแดง สมัยก่อนหายากมาก  ศ.ระพี สาคริก บิดาแห่งกล้วยไม้ไทย
ท่านได้ช้างแดงมาจากป่า  ก็นำมาผสมพันธุ์ใหม่ 
จนปัจจุบันมีช้างแดง สวยๆมากมาย  แบบที่เห็นนี่แหละค่ะ 
บางแห่ง สามารถเลี้ยงได้ช่อยาว  ดอกใหญ่ขนาดเหรียญ 10 บาทเลยที่เดียว
นี่ก็...ช้างเผือกค่ะ
สกุลช้าง  ไอยเรศ เขาแกะ เข็มม่วง เข็มแสด เข็มแดง
 เอื้องกุหลาบต่างๆ เหลืองจันทบูรณ์  เหล่านี้ถือเป็นกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ 
 ส่วนกล้วยไม้ไทยลูกผสม  หมายถึง เอาเขาแกะมาผสมกับเข็มแสด 
 หรือช้างผสมกับเข็ม  พวกนี้ พ่อแม่ออกดอกปีละครั้ง  แต่เมื่อนำมาผสมกัน 
 พวกลูกผสมที่ได้  ออกดอกทั้งปี เลี้ยงง่าย พวกกล้วยไม้พันธุ์แท้
และลูกผสมที่กล่าวมานี้  จัดได้ว่า เลี้ยงง่าย ตายยาก 
รดน้ำบ้าง ไม่รดบ้าง เขาก็จะซื่อสัตย์มาก  ถึงฤดูกาลของเขา 
 ดอกก็จะออกงามไม่ลังเลเลยค่ะ 
อ้อ...พวกนี้ เขามีกลิ่นหอมอ่อนๆ อีกด้วยนะคะ
ไม่ต้องเดาเลย......."ช้างแดง"แน่นอน
อีกอย่างหนึ่ง  คือ ถ้าบ้านเราอยู่ภาคกลาง 
ก็กรุณาอย่าไปหากล้วยไม้ที่เติบโตตามถิ่นสูงๆมาปลูกกันเลยนะคะ
เช่นจากภาคเหนือ หรือบนดอย นำมาเลี้ยงมักไม่ค่อยออกดอก
หรืออกดอกยาก บางทีทนสภาพอาศที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ม่องเท้งเลยก็มี
เช่น ไม้เท้าฤาษี กุหลาบมาลังแดง ไอยเรศเหนือ ฯลฯ
ภายในสวน"ตระกูลช้าง
ชื่อ....ช้างพราย..จริงๆค่ะรูปนี้(ไม่มั่วแล้ว ...จำได้)
เอาละซิ......นี่ช้างแดง...หรือช้างม่วง..ละเนี่ยะ
ช้างพราย
ปัจจุบัน นอกจากท่าน ศ.ระพี สาคริก แล้วก็ยังมีนักผสมพันธุ์
นักปรับปรุง บำรุงพันธุ์ เกิดขึ้นใหม่ๆมากมาย ล้วนแล้วแต่เป็นปูชนียบุคคล 
ที่เป็นคุณประโยชน์แก่วงการกล้วยไม้ของประเทศไทยอย่างมาก 
เพราะเวลานี้ กล้วยไม้ของไทย นำรายได้เข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาท
(ถ้า น้ำไม่ท่วมตายกันไปหมดเสียก่อน)
ช้างส้ม .....ชื่อนี้จริงๆเจ้าของเขาบอก
กล้วยไม้พันธุ์ไทยแท้จากป่ากับกล้วยไม้พันธุ์แท้ลูกผสมก็เหมือนกัน 
 เพียงแต่การพัฒนาทำให้เลี้ยงง่ายขึ้น เจริญเติบโตเร็ว ช่อดอกยาว
ดอกใหญ่ ดอกดก สวยงาม
ช้างเผือก.........สวย...ดูบริสุทธิ์ดีจัง
ช้างพลาย...(มั้ง)
การเลี้ยงกล้วยไม้ หากมีใจรัก และพยายามทำความเข้าใจสายพันธุ์
ถิ่นกำเนิดเขาสักนิด  จากการที่คิดว่าจะยาก ก็จะง่าย
ประกอบกับการที่เรารักและทนุถนอมเขา
เมื่อไรก็ตามที่เขาพยายามชูช่อแทงยอด  ออกดอกให้เราเห็น
เราจะมีความสุขและปลาบปลื้มกับความสำเร็จของเราเอง
โอ๊ย.....ช้างอะไรดีล่ะ..........จำไม่ได้แล้ววว
ประโยชน์จากการเลี้ยงกล้วยไม้มีมากมาย  ประการแรกคือเป็นงานอดิเรก
เสมือนได้พักผ่อน ได้มีความสุข ชื่นตา  ชื่นใจ
ต่อมาเปรียบเสมือนเป็นผู้ให้สีสันแก่บ้าน แก่ถิ่นที่อยู่และให้ความสวยงามสดชื่นแก่โลกใบนี้ 
โลกที่เราอยู่อาศัยที่นับวันก็จะทวีความร้อนขึ้นทุกวัน 
 หากสองมือเราได้ช่วยกันปลูกต้นไม้ ดอกไม้ กันคนละต้น สองต้น ก็ยังดีกว่า
เสพสุขอย่างอื่นที่ต้องสิ้นเปลืองพลังงาน
เผาผลาญโลกให้ร้อนขึ้นไปอีก    คุณว่าจริงมั้ยค่ะ
ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=220486

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น